วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

RECORD AFTER TEACHING  4

Date   30.08.2015


Knowledge

        วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาคัดไทย และอธิบายแนวการสอนพร้อมกับข้อตกลงในชั้นเรียนสอนในหัวข้อ รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย  
  คุณลักษณะตามวัยของเด็ก 3-5  ปี  ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย  พุทธศักราช 2546 ดังนี้

เด็กอายุ 3 ปี 
พัฒนาการด้านร่างกาย
  • กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้
  • รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
  • เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
  • เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
  • ใช้กรรไกรมือเดียวได้
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
  • แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
  • ชอบจะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและรับคำชม
  • กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
  • รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
  • ชอบเล่นเเบบคู่ขนาน
  • เล่นสมมติได้
  • รู้จักการรอคอย
พัฒนาการด้านสติปัญญา
  • สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันได้
  • บอกชื่อของตนเองได้
  • ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
  • สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องประโยคสั้นๆได้
  • สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
  • ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่ายๆและแสดงเลียนเเบบท่าทางได้
  • รู้จักใช้คำถาม อะไร
  • สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่ายๆได้
  • อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
เด็กอายุ 4 ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
  • กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
  • รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
  • เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
  • เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
  • ตัดกระดาษตามแนวเส้นตรงได้
  • กระฉับกระเฉงไม่อยู่เฉย
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
  • แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมบางสถานการณ์
  • เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถเเละผลงานตนเองและของผู้อื่น
  • ชอบท้าทายผู้ใหญ่
  • ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ
พัฒนาการด้านสังคม
  • เล่นร่วมกับคนอื่นได้
  • รอคอยตามลำดับก่อนหลัง
  • แบ่งของให้คนอื่น
  • เก็บของเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านสติปัญญา
  • จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
  • บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
  • พยายามแก้ไขด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
  • สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องเป็นประโยคต่อเนื่องได้
  • สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
  • รู้จักใช้คำถามว่าทำไม
เด็กอายุ 5 ปี

พัฒนาการด้านร่างกาย
  • กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
  • รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
  • เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
  • เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
  • ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
  • ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี
  • ยืดตัว คล่องเเคล่ว
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
  • แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้เหมาะสม
  • ชื่นชมความสามารถเเละผลงานตนเองและของผู้อื่น
  • ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
  • ปฎิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
  • เล่นและทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
  • พบผู้ใหญ่รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
  • รู้จักขอบคุณเมื่อรับของจากผู้ใหญ่
  • รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
พัฒนาการด้านสติปัญญา
  • บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้สิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
  • บอกชื่อและนามสกุลและอายุของตนเองได้
  • พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
  • โต้ตอบเล่าเป็นเรื่องเป็นราวได้
  • สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
  • รู้จักใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร
  • เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
      ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ  ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข 
ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ  น้ำลายไหล 
ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล  และผงเนื้อ ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง 
ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง  น้ำลายไหล 

       ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกาษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5   คน และแจกอุปกรณ์ ดังนี้  
-  คลิปหนีบกระดาษ 1 ตัว
-  กระดาษ 1 แผ่น
       ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดประดาษของเล่นจากอุปกรณ์ที่ครูแจกให้ โดยมีเงื่อนไขว่า  ให้ประดิษฐ์ของเล่นที่ทำให้เด็กเรียนรู้เรื่องลม
       แล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน  
กลุ่ม 1  พับกระดาษเป็นรูปรถใช้แรงลมในการเป่า
  1. เป่ารถไปข้างหน้าโดยไม่มีคลิป --->  รถวิ่งไม่มีทิศทาง
  2.  เป่ารถโดยมีคลิป  ---->  รถเคลื่อนไปข้างหน้า

กลุ่มที่ 2  นำกระดาษและคลิปมาปล่อยลงพื้น
  1.ปล่อยกระดาษ และ คลิปลงพื้นพร้อมกัน
ปรากฏว่า คลิปตกลงพื้นก่อน แต่ กระดาษตกลงพื้นช้ากว่า  เนื่องจาก กระดาษมีพื้นที่มากจึงลงพื้นได้มากกว่าคลิป

       กลุ่มที่ 1 กับ กลุ่ม ที่ 2 ต่างกัน คือ กลุ่ม 1 ประดิษฐ์ของเล่นแล้วเกิดการค้นพอ  แต่กลุ่มที่ 2 เกิดจากการทดลองที่ทกให้เด็กสังเกต และสรุปว่าทำไมวัตถุทั้ง 2 อย่างถึงตกลงพื้นไม่พร้อมกัน

กลุ่มที่  3  ใช้วัสดุ 2 อย่างให้เด็กรู้ถึงสภาพอากศที่แดกต่างกัน

กลุ่มที่ 4  ลูกยางกระดาษ

กลุ่มที่ 5  พับนก 

กลุ่ม 6  กังกันลม  (กลุ่มดิฉันเอง)




Skills
      -ทักษะการคิด วิเคราะห์ 
      -การรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
      -การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
      -การนำเสนอ

Assessment

Myself
        -  ตั้งใจเรียน ทำงานตามที่รับมอบหมายและช่วยเพื่อนๆคิดหาสิ่งประดิษฐ์ที่จะไปนำเสนอหน้าห้อง
Classmate
        -  เพื่อนๆตั้งใจทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย 
        -  ตรงต่อเวลา
Professor
        -  อาจารย์มีการสอนที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นไม่ใช่แค่การบรรยายแต่มีการให้นักศึกษาได้ฝึกคิดค้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น