RECORD AFTER TEACHING 2
Date 16.08.2015
Knowledge
วันนี้เริ่มต้นการเรียนการสอนโดยอาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น ให้นึกศึกษาทำ Mind Mapping เพื่อวัดความรู้เดิมของนักศึกษา ในหัวข้อ การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแบ่งเป็น 3 หัวข้อ คือ
1. การจัดประสบการณ์ คือ การเรียนรู้ การทำกิจกรรม การเล่น
2. วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งรอบตัวเด็ก การทดลอง อวกาศ การสังเกต
3. เด็กปฐมวัย คือ เด็กเล็ก พัฒนาการ การเล่น การเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ หมายถึง ทักษะกระบวนการที่ใช้ศึกษาสิ่งต่างๆรอบตัว เป็นการศึกษา สืบค้นหรือแสวงหาโดยให้เหตุผล อาศัยการสังเกต การทดลอง เพื่อค้นหาความหมายสิ่งที่จะทำให้ได้ซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศตร์
1.ตั้งปัญหา
2.กระบวนการทดลอง
3.การตั้งสมมุติฐาน
4.การสังเกต
5.การรวบรวมข้อมูล
6.สรุป
พลังงาน
พลังงาน คือ สิ่งที่ทำให้สิ่งต่างๆเคลื่อนที่ได้ ถ้าไม่มีพลังงาน ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น สิ่งใดก็ตามที่เคลื่อนไหว เติบโต หรือทำงานในทางใดทางหนึ่ง เช่น
•พลังงานลม ในรูปของพลังงานจลน์ของลม
•พลังงานน้ำ ในรูปของพลังงานศักย์ของน้ำฝนที่ตกลงมา และถูกกักเก็บไว้ในที่สูง
•พลังงานมหาสมุทร ในรูปของพลังงานจลน์ของคลื่นและกระแสน้ำและพลังงานความร้อนในน้ำของมหาสมุทร
•พลังงานชีวมวล ในรูปของพลังงานเคมีของชีวมวล
•พลังงานฟอสซิล ในรูปของพลังงานเคมีของถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ แหล่งพลังงานดังกล่าวนี้อาจกล่าวเป็นอีกนัยว่าเป็นแหล่งพลังงานทางอ้อมของดวงอาทิตย์ก็ได้
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1. การเปลี่ยนแปลง (change)
ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
2. ความแตกต่าง (Variety)
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน
จึงควรให้เด็กเข้าใจถึงความแตกต่างและความเหมือนของ
สิ่งต่างๆ เหล่านั้น โดยอาศัยการสังเกตสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว
3. การปรับตัว (Adjustment)
ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึง
ควรให้เด็กสังเกตถึงธรรมชาติประการนี้จากสิ่งต่างๆ ที่อยู่
รอบตัวเอง
4. การพึ่งพาอาศัยกัน (Maturity)
ทุกสิ่งในโลกนี้จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน
5. ความสมดุล (Equilibrium)
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิตและ
ปรับตัวให้ได้ดุล และมีความผสมกลมกลืน
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1. ความอยากรู้อยากเห็น
2. ความเพียรพยายาม
3. ความมีเหตุผล
4. ความซื่อสัตย์
5. ความมีระเบียบและรอบคอบ
6. ความใจกว้าง
ความสำคัญทางวิทยาศาสตร์
1. ช่วยพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
2. ช่วยส่งเสริมประสบการณ์ของเด็กให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
3. ช่วยให้เด็กประสบกับความส าเร็จในการเรียน
4. ช่วยสนองตอบต่อความต้องการของเด็กเป็น
รายบุคคล
5. ช่วยพัฒนาทักษะทางด้านการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ
ของร่างกาย
6. ช่วยให้เด็กรู้จักปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
7. ช่วยให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน
ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ต่อเด็กปฐมวัย
1. ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
2. เด็กได้รับประสบการณ์ตรงในชีวิต
3. พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
4. เพิ่มพูนทักษะการสังเกต
5. เด็กได้มีโอกาสใช้เครื่องมือและวัสดุที่เคยพบเห็น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. ทักษะการสังเกต(Observing)
2. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring)
3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
4. ทักษะการพยากรณ์(Predicting)
6. ทักษะการคำนวณ (Using Numbers)
7. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส
และสเปสกับเวลา(Using Space/Time Relationships)
8. ทักษะการจัดกระท าและสื่อความหมายข้อมูล
(Organizing Data and Communicating)
Skills
-ทักษะการคิด วิเคราะห์ แยะแยะ
Assessment
Myself
- ตั้งใจเรียน ตรงต่อเวลา
Classmate
- เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์
- ตรงต่อเวลา
Professor
- อาจารย์อธิบายได้เข้าใจและมีการถามตอบนักศึกษาอยู่เสมอ ทำให้นักศึกษาได้แชร์ว่าเข้าหรือยังไม่เข้าใจในส่วนไหนบ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น