วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ARTICLE

เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย “เทคนิคการเลือกและเล่านิทานให้ลูกรัก” 

กิจกรรมที่แสนจะอบอุ่นในชั้นเรียนและในครอบครัว



        พ่อแม่สมัยใหม่ค่อนข้างมีความรู้และให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลานตั้งแต่เยาว์วัย   สิ่งสำคัญในการเรียนรู้ระดับปฐมวัยคือการสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ของเด็ก โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ  ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของ   “โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย”  โดย สถาบันส่ง เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
               สสวท. ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง  “การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ผ่านนิทาน”   ในงานเปิดตัวกรอบมาตรฐานและคู่มือการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัย ของ สสวท.  เมื่อเร็วๆ นี้  ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท เพื่อเป็นตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนให้แก่ครูปฐมวัยที่สนใจ โดยมี ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัย การส่งเสริมพัฒนาการและการผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และอาจารย์พัชรดา  รักยิ่ง ผู้ชำนาญสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย สสวท. เป็นวิทยากร
               นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่  ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้

               นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่  ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้
               ดร. อุไรวาส  ปรีดีดิลก แนะนำว่า ถ้าหากเป็นไปได้ ผู้เล่านิทานควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อวางแผนการสื่อสารกับเด็กๆ และจะหยิบยกประเด็นใดมาพูด  นิทานบางเล่มที่ไม่มีคำบรรยาย มีแต่ภาพอย่างเดียว ภาพก็จะสื่อให้เข้าใจได้เช่นกัน
               นิทาน..ต้องเล่าก่อนนอน จริงหรือ?                              “การเล่า นิทาน จริงๆ แล้วสามารถเล่าได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส เป็นกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมได้” แต่เวลาก่อนนอน อาจเป็นเวลาที่สะดวกต่อการเล่านิทาน หลายครอบครัวจึงมักใช้เวลาก่อนนอนในการเล่านิทานให้บุตรหลานฟัง               เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก  ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็กเริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารักๆ  เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป  
               เทคนิคการเล่านิทาน ในการเล่านิทาน จะต้องสร้างอารมณ์ร่วมในขณะที่เล่ามีการใช้โทนเสียงเวลาเล่า ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดไปกับผู้เล่าในขณะที่ฟังนิทาน  การใช้เสียงต่างๆ จะทำให้เด็กได้สังเกตอารมณ์ของการใช้เสียง  
               เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก  ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็กเริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารักๆ  เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป                 เทคนิคการเล่านิทาน ในการเล่านิทาน จะต้องสร้างอารมณ์ร่วมในขณะที่เล่ามีการใช้โทนเสียงเวลาเล่า ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดไปกับผู้เล่าในขณะที่ฟังนิทาน  การใช้เสียงต่างๆ จะทำให้เด็กได้สังเกตอารมณ์ของการใช้เสียง  นอกจากเสียงเล่าแล้ว ยังมีรูปแบบอื่นประกอบ เช่น หุ่นมือ  หุ่นนิ้ว  วาดไปเล่าไป  ถ้ามีการใช้สื่อในบางโอกาสเด็กก็จะชอบ การนำของจริงที่เกี่ยวข้องกับนิทานมาให้เด็กดูประกอบการเล่านิทาน อาจทำให้เด็กอยากเกิดความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องที่เล่า ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงต่อยอดประสบการณ์ภายหลังได้
               นิทานบางเรื่องถึงเด็กจะอ่านไปแล้ว แต่เด็กปฐมวัยอยู่ในวัยที่ชอบฟังซ้ำๆ ซึ่งก็เกิดการเรียนรู้ตามมา  “เด็กคนไหนที่มีโอกาสฟังนิทานเยอะ ก็จะเปิดประสบการณ์ได้เยอะ นิทานเรื่องเดียวเล่าได้ซ้ำๆ และเปิดมุมมองในการเรียนรู้ได้หลายแง่มุม”
               
นอกจากนั้น ข้อควรระวังในการเล่านิทาน ก็คือ “เวลาเล่านิทาน ถ้าเด็กมีความคิดใหม่ๆ หรือคำพูดที่ไม่ตรงกับสิ่งที่พ่อแม่ต้องการหรือคาดหวังก็ไม่ควรปฏิเสธ เพราะจะปิดกั้นความคิด อาจทำให้เด็กขาดความมั่นใจ คือ อย่าเพิ่งไปบอกเด็กว่าไม่ใช่อาจจะเฉยๆ ไปก่อน หรือมีวิธีพูดอย่างอื่น”  ไม่ควรหยุดเล่ากลางคัน เพื่อผละไปทำอย่างอื่นในขณะที่เด็กมีความสนใจในเรื่องที่เล่าจะทำให้ความใฝ่รู้ของเด็กตรงนั้นสะดุด
              

 
               .....นิทานเรื่องเดียวที่เล่าไปก็จะไม่จบไปในแค่นั้น... แต่จะจุดประกายต่อยอดไปสู่การพัฒนาความคิดและทักษะอื่นๆ อีกมากมายได้

               .....นิทานเรื่องเดียวที่เล่าไปก็จะไม่จบไปในแค่นั้น... แต่จะจุดประกายต่อยอดไปสู่การพัฒนาความคิดและทักษะอื่นๆ อีกมากมายได้






RESEARCH CONCLUDE



ชื่องานวิจัย : ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย

ชื่อวิจัย : ศรีนวล รัตนานันท์

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 
1.เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนก่อนและหลังการทดลอง
2.เพื่อเปรีบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติก่อนและหลังการทดลอง
3.เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนกับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า 
          การศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางในการพัฒนารุปแบบการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกต อันเป็นพื้นฐานสำหรับเด้กปฐมวัยให้แก่ครูและผู้เกี่ยวข้อง  นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางของครูในการพัฒนาการจัดประสบการณ์สำหรับเด้กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
1.ประชากร : ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิงอายุระหว่าง 5 - 6 ปีกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2539 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี
2.กลุ่มตัวอย่าง : กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป้นเด็กปฐมวัยชาย-หญิงอายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2539 โรงเรียนวัดวังกุ่ม  อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน แล้วจับสลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและควบคุม กลุ่มละ 15 คน
3.ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง การทดลองครั้งนี้กระทำระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2539 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที
4.ตัวแปรศึกษา
4.1 ตัวแปอิสระ คือ รูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นวิทยาศาสตร์ ได้แก่
- การจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน
- การจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ
ตัวแปรตาม คือ ทักษะการสังเกตในด้านคุณลักษณะ การกะประมาณและการเปลี่ยนแปลง

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.การจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาตร์

2.ทักษะการสังเกต

3.เด็กปฐมวัย


เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

1.แผนการจัดประสบการณ์ดังนี้

-แผนการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน

-แผนการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ

2.แบบประเมินทักษะการสังเกต

ตัวอย่างแผนการสอน
"หน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้"



ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 
1.แว่นขยายเห็นชัดเจน
2.แสงเป็นอย่างไร
3.เสียงในธรรมชาติ


ครั้งที่ 1 กิจกรรม แว่นขยายเห็นชัดแจ้ง

จุดประสงค์ : เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกตในด้าน

-ลักษณะของแว่นขยายกับการส่องวัตถุ

-การกะประมาณขนาดของวัตถุ

สถานที่ : บริเวณพื้นที่รอบอาคารเรียน


อุปกรณ์ 

 1.แว่นขยายสำหรับเด็ก 3 คนต่อ 1 อัน

2.กระดาษสำหรับบันทึกภาพ

3.ดินสอสี

วิธีทำกิจกรรม

1.ครูแนะนำกิจกรรมโดยกล่าว่า "ครูจะพาเด็กๆออกไปสำรวจธรรมชาติรอบๆอาคารเรียนและให้เด็กๆใช้แว่นขยายส่องดูสิ่งที่น่าสนใจ"

2.เด็กปฏิบัติการโดยใช้ประสาทสัมผัส
  2.1 สำรวจบริเวณที่สนใจใช้แว่นขยายส่องดูรายละเอียดของสิ่งของต่างๆ ที่พบ
  2.2 ใช้แว่นขยายส่องดูหิน ก้อนหิน ใบไม้ แมลงและอื่นๆเพื่อดูลักษณะ  รูปร่าง ส่วนประกอบ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
 
2.3 สังเกตขนาดของจริงที่มองเห้นด้วยตาเปล่าและการใช้แว่นขยายส่องโดยการวาดภาพเปรียบเทียบ


3.ขณะที่เด็กทำกิจกรรม  ครูใช้คำถามประกอบด้วยการสังเกต ดังนี้

-เด็กๆใช้แว่นขยายส่องดูอะไรบ้าง

-แว่นขยายทำให้เด็กมองเห็นวัตถุของจริงเป็นอย่างไร

-ขนาดของวัตถุของจริงที่มองเห็นตาเปล่าและมองโดยการใช้แว่นขยายส่อง มีขนาดเป้นอย่างไร

 4.สรุป

หลังปฏิบัติกิจกรรมเสร็จแล้ว เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงผลการสังเกตจากกิจกรรม





RECORD AFTER TEACHING  11

Date  25.10.2015



Knowledge

      วันนี้เริ่มการเรียนการสอนโดยอาจารย์ตรวจ My Map  ที่ให้แต่ละกลุ่มไปปรับปรุงแก้ไขมาให้ถูกต้องโดยให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน  โดยอาจารย์แนะนำว่า อันไหนควรวาดภาพประกอบก็ควรวาดภาพมาด้วยเนื่องจากเด็กจะได้เห็นภาพด้วยโดยเป็นการเรียนรู้แบบภาษาธรรมชาติ


กลุ่ม ผลไม้

กลุ่ม ยานพาหนะ

กลุ่ม ปลา

กลุ่มดอกไม้

กลุ่ม ไข่

กลุ่ม อากาศ


Skills
      -  ทักษะทางวิทยาศาสตร์ การนำเสนอข้อมูล
      -  ทักษะการทำงานเป็นทีม
      -  ทักษะการแก้ไขปัญหา

Assessment

Myself
        -  ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Classmate
       -  เพื่อนๆตั้งใจเรียนและ ตรงต่อเวลา
Professor
        -  อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา และอธิบายได้เข้าใจ มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม การประพฤติการปฏิบัติที่ดีของการเป็นนักศึกษาวิชาชัพครูด้วย



RECORD AFTER TEACHING  10

Date  18.10.2015




Knowledge

    วันนี้เริ่มการเรียนการสอนโดยอาจารย์ตรวจของเล่นกลุ่มที่เหลือ และอาจารย์ได้แนะนำเพิ่มเติมให้กับของเล่นแต่ละกลุ่ม เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการทำสื่อในครั้งต่อไป และการที่นักศึกษาได้ประดิษฐ์ของเล่นออกมาแล้วนั้น จะต้องมีไอเดียเพิ่มเติมจากของเล่นที่เราประดิษฐ์รึเปล่า ชิ้นงานแต่ละชิ้นต้องไม่จบอยู่แค่นั้นต้องให้เด็กได้คิดต่อและมีวิธีการเล่นที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น


    ต่อมาอจารย์สอนเกี่ยวกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยมีเนื้อหาดังนี้

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์

สาระที่  1      สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

มาตรฐาน ว  1. 1     เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว  1.2     เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 2     ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

มาตรฐาน ว 2. 1     เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ   ในระบบนิเวศมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2      เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

สาระที่ 3      สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3. 1     เข้าใจสมบัติของสาร   ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2      เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร   การเกิดสารละลาย   การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 4       แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4. 1     เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม 
มาตรฐาน ว 4.2      เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์   สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 5       พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1     เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน  ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม   มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 6       กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1     เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 7      ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1     เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2      เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 8       ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1     ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน


   ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน อาจารย์ให้นักศึกษาคิดหัวข้อที่จะสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตรืแล้วเขียนเป็นมายแมพให้อาจารย์ดู พร้อมให้แต่ละกลุ่มนำเสนอที่หน้าชั้นเรียน







Skills
      -  ทักษะทางวิทยาศาสตร์ การสังเกตและการนำเสนอข้อมูล
      -  ทักษะการทำงานเป็นทีม
      

Assessment

Myself
        -  ใช่วยเพื่อนๆในกลุ่มทำงาน ช่วยคิด ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Classmate
       -  เพื่อนๆตั้งใจเรียนและช่วยกันทำงานอย่างตั้งใจ ตรงต่อเวลา
Professor
        -  อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา และอธิบายได้เข้าใจ หากนักศึกษาไม่เข้าใจอาจารย์ก็จะอธิบายจนว่าจะเข้าใจ ไม่ปล่อยผ่าน


วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

RECORD AFTER TEACHING  9

Date   11.10.2015




Knowledge
        วันนี้เริ่มการเรียนการสอนโดยอาจารย์ให้นักศึกษาเขียนขั้นตอนในการทำของเล่นเดี่ยวแล้วนำไปติดที่หน้ากระดาน  โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายที่นักศึกษาคิดว่าเด็กฟังแล้วเข้าใจได้ง่าย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการนำเสนออย่างหนึ่งและเชื่อมโยงการเรียนการสอยแบบ STEM ได้ ซึ่งการเขียนขั้นตอนแบบนี้ เป็น T คือ เทคโนโลยี (กราฟฟิค)  


       ต่อมาอาจารย์ให่นักศึกษาแบ่งกลุ่มแล้วเลือกเอาของเล่นของสมาชิกในกลุ่มมา 1 ชิ้น ว่าของเล่นชิ้นไหน เหมาะแก่การนำไปสอนเด็ก และทำให้เด็ก เกิดการแข่งขันในการเล่นได้ด้วย แล้วให้แต่ละกลุ่ม อธิบายขั้นตอนที่จะนำไปสอนจะนำเสนอ วางแผนว่าแต่ละคนในกลุ่มมีหน้าที่ทำอะไร แล้วนำไปเสนอหน้าชั้นเรียน







Skills
      -  การวางแผน
      -  การทำงานอย่างเป็นขั้นตอน
      - การบูรณาการในการเรียนการสอน แบบ STEM
      -  การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
      

Assessment

Myself
        -  ใช่วยเพื่อนๆในกลุ่มทำงาน ช่วยคิด ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Classmate
       -  เพื่อนๆตั้งใจเรียนและช่วยกันทำงานอย่างตั้งใจ ตรงต่อเวลา
Professor
        -  อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา และอธิบายได้เข้าใจ หากนักศึกษาไม่เข้าใจอาจารย์ก็จะอธิบายจนว่าจะเข้าใจ ไม่ปล่อยผ่าน



RECORD AFTER TEACHING  8

Date   04.10.2015




Knowledge
         วันนี้อาจารย์ติดภารกิจที่คณะจึงให้รุ่นพี่ปี 5 มาสอนทำ Cooking  เมนูที่ทำในวันนี้คือ เมนู ขนมปังทอดไส้กล้วย


        เริ่มต้นการสอน พี่ๆให้แบ่งกลุ่ม แล้วพี่ก็เริ่มร้องเพลง เพื่อเป็นการเก็บเด็กให้มีสมาธิพร้อมที่จะเรียน  แล้วอธิบายขั้นตอนในการทำ พร้อมสาธิตขั้นตอนการทำแต่ละขั้นตอนการทำให้ดูก่อน



        ต่อมาก็แบ่งกลุ่มทำตามกิจกรรมแต่ละฐาน ซึ่งแต่ละฐานจะทำแตกต่างกันออกไปทีละขั้นตอนโดยมีขั้นตอนดังนี้

1.  ตัดขอบขนมปังออกแล้วทับขนมปังให้แบน



2.  หั่นกล้วยใส่ขนมปัง แล้วกลบขนมปังให้สนิท




3. นำขนมปังที่ใส่กล้วยแล้ว มาชุบกับไข่



5.นำขนมปังไปทอด


 6.เมื่อทอดเสร็จแล้วหั่นขั่นปังเป็น 3 ชิ้น แล้วนำน้ำตาลและนมข้นหวานโรย  พร้อมรับประทาน




Skills
      -  การวางแผน
      -  การทำงานอย่างเป็นขั้นตอน
      - การบูรณาการในการเรียนการสอน แบบ STEM
      

Assessment

Myself
        -  ให้ความร่วมมือกับพี่ๆ สนุกกับการเรียน
Classmate
       -  เพื่อนๆตั้งใจเรียนและดูสนุกไปกับการเรียนในวันนี้มาก 
Professor
        -  อาจารย์มีความสรับผิดชอบอย่างมากติดภารกิจแต่ก็ไม่ทิ้งนักศึกษา







RECORD AFTER TEACHING  7

Date   20.09.2015



Knowledge

        วันนี้เริ่มการเรียนการสอนโดยอาจารย์ให้นักศึกษาคัดลายมือ ก-ฮ  เพื่อเป็นการฝึกให้คุ้นชิน เพื่อไว้ใช้ในการสอนในอนาคต
        ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาทาบมือตัวเองตัวเองลงบนกระดาษ A4  แล้วลากเส้นตามรูปมือที่วางก็จะได้รูปมือของตัวเอง  แล้วให้วาดเส้นตัดขวาง  จะได้ภาพออกมาที่ดูมีมิติ 

 
ต่อมาเป็นการสาธิตการไหลของน้ำพุ  ดังรูป

 
      จากการสาธิตจะเห็นได้ว่า การวางน้ำอยู่ในระดับเดียวกันน้ำจะไม่ไหล  หากวางสูงเกินไปน้ำก็จะไม่ไหน   ต้องวางขวดน้ำให้สูงกว่าระดับของน้ำพุ  น้ำจึงจะเกิดการประทุออกมาก  


กิจกรรมต่อมา  สาธิตการไหลของน้ำจากกรวยทั้ง 2 ที่มีสายยางต่อข้างล่างให้เชื่อมกัน


 กิจกกรมต่อมา  ดอกไม้เบ่งบาน (การดูดซึมของน้ำ)


         อาจารย์ให้พับกระดาษและตัดดังรูปข้างบน แล้วนำจิกระบายเป็นวงกลมที่จุดกึ่งกลางของกระดาษ เพื่อที่จะให้เหมือนกับดอกไม้ แล้วพับกระดาษลงให้หมด เหมือนกับดอกไม้กำลังตูม  หลังจากนั้นเอาไปลอยในน้ำ ดอกไม้ก็จะค่อยๆๆ บานออก เกิดจากการที่ กระดาษดูดซึมน้ำเข้ามา จึงทำให้ดอกไม้บาน

  ต่อมานักศึกษาบางกลุ่ม ออกมานำเสนอของเล่นกลุ่ม  
 







Skills
      -การรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
      -การสังเกตจากทดลองต่างๆ
      

Assessment

Myself
        -  ตั้งใจเรียน ตรงต่อเวลา
        -  ทำงานตามที่รับมอบหมายสำเร็จ 
Classmate
        -  เพื่อนๆตั้งใจทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย 
        -  ตรงต่อเวลา
        -  ช่วยกันตอบคำถาม
Professor
        -  อาจารย์มีการสอนที่หลากหลาย มีทั้งสอนเนื้อหา การทดลอง และอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจ ทำให้บรรยากาศในการเรียนดูสนุกและไม่น่าเบื่อ